ประเมินคุณภาพการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษามลายู ประจำปีการศึกษา 2564

23 มิถุนายน 2565 (ผู้ดูแลระบบ) ประมวลภาพกิจกรรม

วันที่ 22 มิถุนายน 2565 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษามลายู การประเมินรายขงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report : SAR) และรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตร (มคอ. 7) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษามลายู พ.ศ. 2560 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประจำปีการศึกษา 2564 (ระหว่างวันที่ 1 กรกฏาคม 2564 - 30 มิถุนายน 2565) รูปแบบกึ่งออนไลน์ ณ ห้องประชุมบราแง อาคารสังคมศาสตร์

โดยหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษามลายู พ.ศ. 2560 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้ดำเนินการการประกันคุณภาพการศึกษา โดยยึดหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ตามรูปแบบของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) มีองค์ประกอบในการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน 6 องค์ประกอบ ซึ่งหลักสูตรประเมินผลการดำเนินการเฉลี่ยรวม 3.88 คะแนน ผลการประเมินอยู่ในระดับดี โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้

❖ องค์ประกอบที่ 1 

การกำกับมาตรฐานหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษามลายู ได้บริหารจัดการหลักสูตรตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558 รับการประเมินทั้งหมด 5 ข้อ ประกอบด้วย 

ข้อ 1 จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร 

ข้อ 2 คุณสมบัติ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร 

ข้อ 3 คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร 

ข้อ 4 คุณสมบัติอาจารย์ผู้สอน 

และข้อ 10 การปรับปรุงหลักสูตรตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด 

พบว่า หลักสูตรดำเนินการได้มาตรฐานตามเกณฑ์การประเมินทุกข้อ 

 

❖ องค์ประกอบที่ 2 

บัณฑิต องค์ประกอบด้านบัณฑิต ประกอบด้วย 2 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 

ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ บัณฑิตที่สำเร็จ สรุปความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตอยู่ในระดับดีคิดเป็น 4.59 คะแนน 

ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี คิดเป็น 4.88คะแนน คะแนนเฉลี่ยในตัวบ่งชี้ที่ 2.1 และตัวบ่งชี้ที่ 2.2 คิดเป็น 4.74 คะแนน ผลการ ประเมินอยู่ในระดับคุณภาพ ดีมาก

❖ องค์ประกอบที่ 3 

นักศึกษา องค์ประกอบด้านนักศึกษา ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 

ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การรับนักศึกษา ผลการประเมิน 3 คะแนน

ตัวบ่งชี้ที่ 3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา ผลการประเมิน 4 คะแนน

และตัวบ่งชี้ที่ 3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา ผลการประเมิน 3 คะแนน

ผลการประเมินคะแนนเฉลี่ยใน องค์ประกอบที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ย 3.33 คะแนน ผลการประเมินอยู่ในระดับคุณภาพ ดี 

 

❖ องค์ประกอบที่ 4 

อาจารย์ องค์ประกอบด้านอาจารย์ ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 

ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์ ผลการประเมิน 4 คะแนน

ตัวบ่งชี้ที่ 4.2 คุณภาพอาจารย์ ผลการประเมิน 3 คะแนน

และตัวบ่งชี้ที่ 4.3 ผลที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมิน 4 คะแนน

ผลการประเมินคะแนนเฉลี่ยใน องค์ประกอบที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ย 3.67 คะแนน ผลการประเมินอยู่ในระดับคุณภาพ ดี 

 

❖ องค์ประกอบที่ 5 

หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน องค์ประกอบด้านหลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน ประกอบด้วย 4 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 

ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 สาระรายวิชาในหลักสูตร ผลการประเมิน 4 คะแนน

ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน ผลการประเมิน 4 คะแนน

ตัวบ่งชี้ที่ 5.3 การประเมินผู้เรียน ผลการประเมิน 3 คะแนน

ตัวบ่งชี้ที่ 5.4 ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ 2 ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมิน 5 คะแนน

 ผลการประเมินคะแนนเฉลี่ยในองค์ประกอบที่ 5 มีคะแนนเฉลี่ย 4 คะแนน ผลการ ประเมินอยู่ในระดับคุณภาพ ดี 

❖ องค์ประกอบที่ 6 

สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ องค์ประกอบด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ผลการประเมินคะแนนเฉลี่ยในองค์ประกอบที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ย 4 คะแนน ผลการประเมินอยู่ในระดับคุณภาพ ดี