มหาเวสสันดรชาดก

26 ตุลาคม 2561 (ผู้ดูแลระบบ) วรรณคดีไทย

มหาเวสสันดรชาดก

 

มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี (ผู้แต่ง เจ้าพระยาพระคลัง(หนลักษณะคำประพัน ร่ายยาว ยกคาถาบาลีขึ้นเป็นหลักก่อน สลับกับร่าย มีคาถาบาลีแทรกสลับเป็นระยะ (ลักษณะร่าย บทหนึ่งจะมีกี่วรรคก็ได้ วรรคหนึ่งๆจะมีคำตั้งแต่ ๖ คำขึ้นไป มีบังคับเฉพาะสัมผัสระหว่างวรรคเท่านั้น ร่ายยาวเรื่อง มหาเวสสันดรชาดกนี้แต่งเป็นร่ายยาวสำหรับใช้เทศน์ “ชาดก” หมายถึง เรื่องราวของพระโพธิสัตว์(พระโพธิสัตย์ หมายถึง ผู้ซึ่งบำเพ็ญบารมี เพื่อจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติต่อไปชาดกจึงหมายถึงเรื่องราวในอดีตชาติของพระพุทธเจ้านั่นเอง เรื่องราวของพระพุทธเจ้าตอนที่เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์นั้นมีมากมาย แต่ชาติที่สำคัญและเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายนั้น มี ๑๐ ชาติ เรียกว่า ทศชาติชาดก โดยในแต่ละชาติทรงบำเพ็ญบารมี ยิ่งใหญ่ ๑๐ ประการ ดังนี้

ทศชาติชาดก

หัวใจ

ทศบารมี

ความหมาย

.เตมียชาดก

เต.

เนกขัมมบารมี

การออกบวช

.มหาชนกชาดก

.

วิริยบารมี

การมีความเพียร

.สุวรรณสามชาดก

สุ.

เมตตาบารมี

การมีความเมตตา

.เนมิราชชาดก

เน.

อธิษฐานบารมี

การมีความตั้งใจมั่น

.มโหสถชาดก

.

ปัญญาบารมี

การมีปัญญา

.ภูริทัตชาดก

ภู.

ศีลบารมี

การมีศีล

.จันทกุมารชาดก

.

ขันติบารมี

การมีความอดทน

.นารทชาดก

นา.

อุเบกขาบารมี

การรู้จักทำใจวางเฉย

.วิทูรชาดก

วิ.

สัจจบารมี

การมีสัจจะ

๑๐.มหาเวสสันดรชาดก

เว.

ทานบารมี

การให้,การเสียสละ

พระชาติสุดท้าย คือ เวสสันดรชาดก ซึ่งเรียกว่าเป็น มหาชาติ เพราะ ๑.เป็นชาติที่สำคัญยิ่งเพราะเป็นชาติสุดท้ายก่อนที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้า ๒.เป็นชาติที่ทรงบำเพ็ญบารมีครบถ้วนทั้ง ๑๐ ประการ โดยเฉพาะ บำเพ็ญทานบารมีคือ บริจาคบุตรและภรรยาอันเป็นอุดมคติสูงสุด ยากที่ปุถุชนทั่วไปจะกระทำได้ ๓.เป็นชาติที่แสดงการเสียสละประโยชน์สุขส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวมพุทธศาสนิกชนจึงเลื่อมใสศรัทธามากกว่าชาติอื่นๆ การเทศมหาชาติมีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย การเทศน์มหาชาตินิยมเทศน์ระหว่างเดือนสิบสองกับเดือนอ้าย พุทธศาสนิกชนนิยมฟังเทศน์มหาชาติเพราะเชื่อว่าจะได้อานิสงส์ให้พบกับพระศรีอาริย์ ทานบารมีนับเป็นบารมีสูงสุดในทศบารมี กัณฑ์มัทรีเป็นกัณฑ์ที่ ๘ ใน ๑๓ กัณฑ์ มีจำนวนคาถา ๙๐คาถา (จาก ๑,๐๐๐ คาถาชี้ให้เห็นความรักที่แม่มีต่อลูก การให้บุตรทาน พระเวสสันดรทรงชนะใจตนเองได้เพราะอาศัยปัญญาบารมีและอุเบกขาบารมี

การกลับชาติมาเกิด พระเวสสันดร เจ้าชายสิทธัตถะ พระนางมัทรี พระนางยโสธรา พระชาลี >พระราหุลชิโนรส พระกัณหา นางอุบลวรรณาเถรี พระเจ้ากรุงสญชัย พระเจ้าสุทโธทนะ พระพุทธบิดา พระนางผุสดี พระนางสิริมหามายา พระพุทธมารดา ชูชก พระเทวทัตยโสธรราชอนุชา อมิตตดา นางจิญจมาณวิกา พรานเจตบุตร พระฉันนะเถระ พระอัจจุตฤษี พระสารีบุตร พระวิสสุกรรม พระโมคคัลลานะ พระอินทร์ พระอนุรุทธ์มหาเถระ อำมาตย์ผู้เป็นนายนักการนำข่าวไปทูลพระเวสสันดร พระอานนท์เถระ

ปัญจมหาบริจาค คือ การบริจาคที่ยิ่งใหญ่ ๕ ประการ คือ ๑.ธนบริจาค(การสละทรัพย์สมบัติเป็นทาน).อังคบริจาค(การสละร่างกายเป็นทาน.ชีวิตบริจาค(การสละชีวิตให้เป็นทาน.บุตรบริจาค(การสละลูกให้เป็นทาน.ภริยาบริจาค(การสละภรรยาให้เป็นทาน)

ศัพท์ที่ควรรู้ กัมปนาท=เสียงสนั่นหวั่นไหว กระลี=เหตุร้าย กัลยาณี=นางงาม คนธรรพ์=ชาวสวรรค์พวกหนึ่ง ชำนาญการดนตรีและขับร้อง ครรไล=ไป คลาไคล=เดินไป จรลี=เดินเยื้องกราย ชัฏ=ป่ารก ทิพากร=พระอาทิตย์ บรรจถรณ์=ที่นอน ประภาษ=พูด บอก ประพาส=ไปเที่ยว ปักษิน=นก ปิยบุตร=บุตรอันเป็นที่รัก เรไร=จักจั่นสีน้ำตาลหลายชนิด ลองไน=จักจั่นขนาดใหญ่มีปีกสีฉูดฉาด วิทยาธร=อมนุษย์พวกหนึ่ง เชื่อว่ามีวิชากายสิทธิ์เหาะได้ วิสัญญี=สลบ ศศิธร=พระจันทร์ ศิขริน=ภูเขา ศิโรเพฐน์=ศีรษะ สนธยา=เวลาโพล้เพล้พลบค่ำ สัตพิธรัตน์=แก้วเจ็ดประการ โสมนัส=ความปลาบปลื้มใจ อังสา=บ่า ไหล่ อัสสุชล=น้ำตา อรไท=นางผู้เป็นใหญ่ อุฏฐาการ=ลุกขึ้น อุระ=อก ไอศวรรย์=สมบัติแห่งพระราชาธิบดี ความเป็นเจ้าเป็นใหญ่

พระเวสสันดรกำหนดค่าตัวสองกุมารไว้ดังนี้

.พระชาลี มีค่าตัว ๑,๐๐๐ ตำลึงทอง

.พระกัณหา มีค่าตัวสูงกว่า(เนื่องจากเป็นหญิงคือ

,๐๐๐ ตำลึงทอง โคผู้ ๑๐๐ โคนม ๑๐๐ ช้าง ๑๐๐ ม้า ๑๐๐ ทาสชาย ๑๐๐ ทาสหญิง ๑๐๐ รถ ๑๐๐ 

ขอบคุณข้อมูลจาก https://sites.google.com/site/khwamruphasathai/wrrnkhdi-laea-wrrnkrrm/mha-wessandr-chadk