การแสดงละครเวที ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3

25 ตุลาคม 2562 (ผู้ดูแลระบบ) กิจกรรมพัฒนานักศึกษาในรายวิชา

การแสดงละครเวที วรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3

วานนี้ ที่ 24 ตุลาคม 2562 นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรศิลปศาสตบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย  ได้จัดนิทรรศการและการแสดงละครเวที วรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอ ในรายวิชาวรรณคดีการแสดง ณ ห้องประชุมเชอรา ขั้น 2 อาคารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เวลา 13.00 น. ซึ่งอาจารย์สันทัด จันทร์ขุน และอาจารย์ ดร.มัสวิณี สาและ เป็นอาจารย์ประจำในรายวิชา  โดยมีอาจารย์ขวัญตา ทวีสุข ประธานหลักสูตรศิลปศาสตบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย กล่าวเปิดพิธี คณาจารย์และนักศึกษาทุกชั้นปีเข้าร่วมชม ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการจัดงานในครั้งนี้เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงคุณค่าของวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้น เข้าใจของการสื่อตัวละครต่าง ๆ ในเรื่อง และเพื่อให้ตระหนักเห็นโทษภัยของกิเลสต่างๆ ทั้งรัก โลภ โกรธ หลง ชี้ให้เห็นอารมณ์และกิเลสของมนุษย์นั้นมีอำนาจใหญ่หลวงนัก สามารถลิขิตชีวิตของตนเองได้ถ้าหากเราไม่รู้เท่าทันอารมณ์ ย่อมหลงไปตามอำนาจกิเลสต่าง ๆ แล้วนำไปสู่การทำสิ่งไม่ดี ทางเสื่อม และภัยอันตรายต่าง ๆ มาสู่ตนเองได้ 

ลิลิตพระลอได้เค้าเรื่องมาจากนิทานพื้นเมือง แสดงถึงสภาพความเป็นไปของสังคมในเวลานั้นอย่างเด่นหลายประการในด้านการปกครองแสดงให้เห็นการปกครองแบบนครัฐ คือ เมือง เล็ก ๆ ตั้งเป็นอิสระแก่กัน อันเป็นลักษณะที่ปรากฏทั่วไปก่อนสมัยสุโขทัย และกรุงศรีอยุธยาตอนต้น โดยดินแดนทางภาคเหนือของประเทศไทย นอกจากนี้เรื่องพระลอยังเป็นตัวอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศตกอยู่แก่ประมูขผู้เดียวเกี่ยวกับลัทธิความเชื่อของสังคมก็ปรากฏเด่นชัดในด้านภูตผีปีศาจ เสน่ห์ยาแฝดโชค ลาง ความฝัน และความชื่อสัตย์จงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดินพระพี่เลี้ยงทั้ง ๔ ดังปรากฏในสุภาษิตพระร่วง ที่ว่า "อาสาเจ้าจนตัวตาย"สภาพสังคมทั่วไปที่เห็นได้จากวรรณคดีเรื่องนี้ได้แก่ การใช้ช้างทำสงครามและเป็นพาหนะ ความนิยมและขับร้อง และการบรรจุพระศพกษัตริย์ลงโลงทองแทนพระโกศอย่างในสมัยหลัง