หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

วัตถุประสงค์

หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 4 ปี สาขาวิชาภาษาไทย หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567

หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มีวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ดังนี้

2.1 เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในด้านการสอนภาษาไทย สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานได้อย่างสอดคล้องกับสภาพสังคมและบริบทท้องถิ่นชายแดนใต้ ตระหนักในคุณค่าของภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
2.2 เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอน การออกแบบและสร้างนวัตกรรมการสอน ประยุกต์ใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนการพัฒนาหลักสูตร อันจะส่งผลให้ครู มีความรู้ความสามารถ สมรรถนะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของการศึกษาของชาติ
2.3 เป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู มีความรับผิดชอบสูงต่อวิชาการและวิชาชีพ มีจิตอาสา เสียสละ และมีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพครู อย่างมีคุณภาพ และเป็นไปตามสมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพครู
2.4 มีศักยภาพที่จะพัฒนางานในหน้าที่ และเส้นทางวิชาชีพให้มีความก้าวหน้าเป็นผู้นำทางวิชาการ การสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานหน้าที่ครูได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

 

หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 4 ปี สาขาวิชาภาษาไทย หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 
     เพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษามีคุณลักษณะ ดังนี้
1.เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในด้านการสอนภาษาไทย สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานได้อย่างสอดคล้องกับสภาพสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจของประเทศ
2.เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย และการพัฒนาหลักสูตรทางด้านการเรียนการสอนที่จะส่งผลให้ครู มีความรู้ความสามารถ สมรรถนะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของการศึกษาของชาติ
3.เป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู มีความรับผิดชอบสูงต่อวิชาการและวิชาชีพ มีความอดทน ใจกว้าง และมีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพครู อย่างมีคุณภาพ และเป็นไปตามสมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพครู
4.มีความรอบรู้ด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย สามารถประยุกต์ความเข้าใจอันถ่องแท้ในทฤษฎีและระเบียบวิธีการศึกษาวิจัย เพื่อสร้างความรู้ใหม่สำหรับการประกอบวิชาชีพหรือการศึกษาในระดับสูงขึ้นในอนาคต
5.มีศักยภาพที่จะพัฒนางานในหน้าที่ และเส้นทางวิชาชีพให้มีความก้าวหน้าเป็นผู้นำทางวิชาการ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานหน้าที่ครูได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ