ศิลปะลัทธิเหนือจริง(Surrealism)

24 มิถุนายน 2560 (ผู้ดูแลระบบ) สาระอาร์ต

ศิลปะลัทธิเหนือจริง(Surrealism)

 

              ศิลปะเหนือจริงเป็นศิลปะที่ว่ากันด้วยเรื่องของ การถ่ายทอดภาพจากจิตใต้สำนึก ความเพ้อฝัน ความแปลกแยกโดดเดี่ยว ฯลฯ มีศิลปินที่ถ่ายทอดผลงานแนวนี้มากมาย เช่น Jean Arp, Max Ernst, Giorgio de Chirico, Man Ray, Joan Miro, Rene Magritte แต่ที่มีชื่อเสียงและคุ้นตามากที่สุดก็น่าจะเป็น ซาลวาดอร์ดาลี (Salvador Dali) ศิลปินเซอร์เรียลลิสต์ชาวสเปน บุคลิกเพี้ยนๆ ที่มีผลงานได้รับการยอมรับไปทั่วโลก ทั้งในวงการศิลปะทัศนศิลป์, การแสดง, กราฟิกดีไซน์, ออกแบบตกแต่งภายนอก-ภายใน, จนไปถึงผลงานทางภาพยนตร์ศิลปินกลุ่มนี้กล่าวว่า ความรู้สึกของมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าท่านรู้สึกอย่างไร จงแสดงออกทันที อย่าสกัดกั้นเอาไว้ เพราะมันจะฝังอยู่ใต้จิตสำนึก และจะเป็นอันตรายต่อตัวท่านเอง จากคำกล่าวของลัทธินี้ ทำให้ทราบว่าลัทธินี้เกี่ยวข้องกับจิตไร้สำนึก ซึ่งเป็นระยะพอดีกับที่นายแพทย์ ซิกมันด์ ฟรอย์ (1856-1934) ประกาศทฤษฎีด้านจิตวิทยาอยู่ในยุโรปพอดี นับว่า ซิกมันด์ ฟรอย์ มีส่วนช่วยให้ลัทธิเซอร์เรียลลิสม์ มีอิทธิพลต่อวงการมาก

 

                การศึกษาด้านศิลปะไม่ใช่แค่เพียงการวาดเท่านั้นที่เราจะต้องเรียนรู้ การศึกษาที่มาและ ลักษณะของงานศิลปะ รวมทั้งพัฒนาการความเป็นไปตั้งแต่อดีตและปัจจุบันก็สำคัญ ศิลปะเหนือจริง ก็เป็นหนึ่งในเรื่องที่ข้าพเจ้าสนใจและต้องการศึกษาลักษณะและประวัติความเป็นมาของศิลปะเหนือจริง เพื่อใช้ในการพัฒนาและหาแนวทางในการทำงานศิลปะต่อไป

 

ประวัติความเป็นมาของศิลปะเหนือจริง

 

                Surrealism ลัทธิศิลปะเหนือจริง เริ่มขึ้นตอนต้นของศตวรรษที่ 20 ในประเทศฝรั่งเศส มีรูปแบบรากฐานมาจากกลุ่มดาด้า (Dada) โดยนักทฤษฎีหลักประจำกลุ่มก็คือ อองเดร เบรตง มีจุดหมายอยู่ ที่การคลี่คลายสภาพอันขัดแย้งระหว่างระยะห่างของความฝันและความเป็นจริง โดยถ่ายทอดออกมาในงานศิลปะด้วยวิธีต่างๆ กัน เช่น สร้างภาพซึ่งดูเหนือจริงหรือถึงขั้นหลอน หรือพัฒนาเทคนิคด้านภาพที่จะช่วยถ่ายทอดความฝันหรือจิตใต้สำนึกออกมา งานของกลุ่มนี้จึงมักเกี่ยวข้องกับทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของซิกมันต์ ฟรอยด์ที่ว่า มนุษย์ทุกคนอยู่ภายใต้อิทธิพลของจิตไร้สำนึก ซึ่งเราฝังความอยากอันมิได้ขัดเกลาเอาไว้ จนทำให้รู้สึกว่าความป่าเถื่อนยังมิได้หายไปจากมนุษย์ หากแต่หลบอยู่ในส่วนลึกของจิตใจ

The Persisitence of Memory(นาฬิกาเหลว), ถูกเขียนขึ้นในปี ค.ศ.1931 เป็นผลงานของ ซัลวาดอร์ ดาลี เป็นผลงานที่เรียกได้ว่าสร้างชื่อเสียงให้แก่ ซัลวาดอร์ ดาลี ซึ่งได้รับแรงดาลใจจากเนยแข็งชนิดหนึ่งที่กินเป็นประจำ สื่อสัญลักษณ์ของความไม่แน่นอน การเสื่อมสลาย ผุพัง เน่าเปื่อยของสรรพสิ่งนำเสนอภาพความตาย ศิลปะแนวเซอเรียลิสม์ มีความหมายว่า เหนือความจริง เพราะศิลปะแนวนี้ถ่ายทอดเรื่องราวเหนือธรรมชาติ ถ่ายทอดสิ่งที่อยู่ในความฝันออกมา งานเซอเรียลิสม์มีความสำคัญอยู่ที่ การแสดงออกของจิตใต้สำนึกอย่างอิสระ-ปราศจากการควบคุมของเหตุผล มีความฝันและอารมณ์ จินตนาการ ค่อนข้างโน้มเอียงไปในทางกามวิสัย หลักการของเซอเรียลิสม์คือ จินตนาการเป็นส่วนสำคัญของการแสดงออก จินตนาการคือจิตไร้สำนึก และจิตไร้สำนึกเป็นภาวะของความฝัน ที่มีขบวนการต่อเนื่องกันซึ่งนำไปสู่การสร้างสรรค์งานศิลปะได้ สิ่งที่เราเห็นจากโลกภายนอกขณะตื่น เป็นเพียงปรากฏการณ์ ทางการแทรกแซงความงามของพวกเขาคือความมหัศจรรย์ ความมหัศจรรย์เพียงอย่างเดียวที่สามารถสร้างศิลปะให้สมบูรณ์ได้ และยังให้ความรู้สึกที่เต็มไปด้วยความหมายต่อความรู้สึกของมนุษย์ แนวคิดของศิลปะเหนือจริง เกิดจากการตั้งคำถามในการใช้ชีวิตของมนุษย์ว่าจริงๆ แล้วสิ่งที่เราเคยถูกสอนมาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรมต่างๆ นั้น มีความจำเป็นต่อชีวิตเราจริงหรือไม่ ในอดีตที่มนุษย์ยังไม่มีความเข้าใจหรือความรู้พอที่จะใช้ในการดำรงชีวิต การตั้งกฎเกณฑ์หรือข้อแม้ต่างๆ อาจจำเป็นเพื่อให้มนุษย์ใช้ชีวิตอยู่ในระเบียบของสังคม แต่เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งต่างๆ ในโลกได้รับการพิสูจน์ด้วยวิทยาศาสตร์ เรามีความเข้าใจในสิ่งที่เราเป็นมากขึ้น ทำให้เกิดการตั้งคำถามต่อความเชื่อที่เคยถูกสอนมาวัฒนธรรมที่ต่างกัน เห็นการใช้ชีวิตของคน ได้เห็นความเชื่อที่มนุษย์สร้างขึ้นและอยู่เป็นเส้นขนานกับการใช้ชีวิต ได้อ่านหนังสือในเชิงจิตวิทยาและศิลปะร่วมสมัย ทำให้คำถามต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย แนวความคิดของงานครั้งนี้คือการตั้งคำถามกับการใช้ชีวิตของมนุษย์ที่ถูกผูกมัดด้วยความเชื่อต่างๆ จนบางครั้งข้อผูกมัดเหล่านั้นกลายเป็นข้อแม้ที่ทำให้มนุษย์ไม่สามารถพัฒนาต่อได้ การตั้งคำถามเกี่ยวกับความเชื่อที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อให้การใช้ชีวิตในสมัยก่อนอยู่ในกฎระเบียบรวมถึงความกลัวที่ถูกสร้างขึ้น เมื่อเวลาผ่านไปสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเป็นนามธรรมได้ถูกพิสูจน์ด้วยความจริงของการใช้ชีวิตของคนในยุคต่อมา แล้วสิ่งเหล่านั้นยังจำเป็นกับการมีตัวตนของเราอยู่หรือไม่ ด้านรูปทรงและวิธีการ 1. ศิลปินแสดงออกด้วยสีที่มีความเข้มปานกลาง ให้ความรู้สึกนุ่มนวลบนผิวหน้า ด้วยการเกลี่ยให้กลมกลืน 2. ศิลปินแสดงออกด้วยวัสดุอื่น ปนกับวัสดุที่ศิลปินผู้นั้นถนัด เช่น ทรายปนกับสีน้ำมัน กระดาษสีปนกับสีน้ำมัน 3. ศิลปินพยายามจะซ่อมสิ่งที่ต้องการแสดงออกด้วยเทคนิคของการเขียน เช่น เขียนวัตถุบนกระจกใส หรือเขียนความชัดเจนของสิ่งของคลุมเรื่องที่ต้องการแสดง 4. ศิลปินพยายามสร้างสรรค์ แสง เงา และสีขึ้นเอง ศิลปินในยุคศิลปะเหนือจริง ซันวาดอ ดาลี

ซัลวาดอร์ ดาลี (Salvador Dali) ศิลปินกลุ่มเซอเรียลลิสต์ (surrealist) ชาวสเปน ชื่อเต็มคือ Salvador Felipe Jacinto Dali Domenech Marquis of Pubol เกิดที่เมืองฟิกูเรส (Figueres) ประเทศสเปน ในครอบครัวชนชั้นกลาง เริ่มวาดรูปและฉายแววศิลปินตั้งแต่ 10 ขวบ เริ่มเรียนศิลปะในปี 2459 แสดงผลงานศิลปะครั้งแรกตอนอายุ 14 ปี อีกสองปีต่อมาแม่ของเขาเสียชีวิต แล้วพ่อก็แต่งงานใหม่กับน้องสาวของแม่ เรื่องนี้สร้างความเจ็บปวดให้ดาลีอย่างมาก เขาจึงย้ายไปเรียนศิลปะที่กรุงมาดริด ในปี 2469 เขาถูกไล่ออกจากโรงเรียนเพราะไม่ยอมเข้าสอบ เนื่องจากเขาเชื่อว่าไม่มีใครสามารถตัดสินงานศิลปะได้ จากนั้นเขาก็ออกมาทำงานศิลปะตามที่ตนเองเชื่อ ในระยะแรกเขาสนใจศิลปะคิวบิสม์ (Cubism) ซึ่งได้รับอิทธิพลหลักจากปิกัสโซ (Pablo Picasso) จากนั้นก็หันมาทดลองทำงานศิลปะดาดา (Dada : กลุ่มศิลปะในต้นศตวรรษที่ 20 ที่ปฏิเสธหลักสุนทรียศาสตร์โดยสิ้นเชิง เป็นต้นเค้าของกลุ่มเซอร์เรียลิสต์) ซึ่งได้มีอิทธิพลอย่างมากให้เขาพัฒนาต่อจนกลายเป็นงานเซอร์เรียลิสต์ในแบบของตัวเอง งานศิลปะของดาลีได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีจิตวิเคราะห์ สะท้อนภาพที่ซ่อนอยู่ในจิตใต้สำนึกและความฝัน เขาทำงานศิลปะโดยใช้สัญชาติญาณดิบ แรงขับทางเพศ งานของเขาจึงเต็มไปด้วยสัญลักษณ์ มีบรรยากาศราวกับความฝัน เร้นลับ วิ่นแหว่ง เลือนหลอม ว้าเหว่ เวิ้งว้างกว้างไกลไม่สิ้นสุ ดาลีเชื่อว่าจิตใต้สำนึกคือภาษาสากล เขาเคยกล่าวไว้ว่า “ท่านจะมุ่งหวังให้คนทั่วไปเข้าใจความหมายภาพเขียนของข้าพเจ้าได้อย่างไร ในเมื่อข้าพเจ้าเองยังไม่เข้าใจได้อย่างถ่องแท้" ดาลีเสียชีวิตเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2532 นอกจากเขียนภาพแล้วเขายังทำงานศิลปะแขนงอื่นอีก เช่น ประติมากรรม ถ่ายภาพ ทำหนังร่วมกับ หลุยส์ บุนเนล (Luis Bunuel Portoles : ผู้กำกับภาพยนตร์แนวเซอเรียลิสต์ชาวสเปน) และเป็นผู้ออกแบบอมยิ้มชูปาจุ๊บส์ (Chupa Chups) นับว่าดาลีเป็นหนึ่งในศิลปินชาวสเปนที่มีอิทธิพลมากที่สุดในศตวรรษที่ 20

มาร์ค ชากัลป์ (Mare Chagall) มาร์ค ชากาลล์ เป็นจิตรกรชาวฝรั่งเศสเชื้อสายยิว รัสเซีย เกิดเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ.1887 เมื่อสมัยเด็ก เขามีชีวิตในสภาพยากจนมาก บิดาเป็นเสมียนเล็กๆ ทำงานอยู่ที่คลังสินค้าแห่งหนึ่ง เขาปวดร้าวใจเมื่อเห็นบิดาต้องลำบาก แต่ยังเสียสละให้เขาได้เรียนหนังสือด้วยค่าเล่าเรียนสูงถึง 50 รูเบิล (เนื่องจากในสมัยนั้น เป็นเรื่องยากที่โรงเรียนรัฐบาลจะรับเด็กยิวเข้าเรียน) ชากาลล์ เป็นนักเรียนที่ดี เขาเคยเขยนบทกวี โดยเหตุที่เขาเป็นนักร้องประสานเสียงได้ เขาได้ค่าจ้างเล็กๆน้อยๆจากการร้องเพลงในสุเหร่ายิวในวันเทศกาลต่างๆ ตอนเย็นๆเขาจะนั่งวาดรูป รูปแรกที่เขาวาดได้คือรูปของรูบอนสไตน์ นักเปียนโน(เขาลอกรูปนี้จากหนังสือภาพ)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ chagall opere

ชากาลล์ เรียนวิชาศิลปะจากจิตรกรคนหนึ่งที่ Vitebsk ในปีค.ศ.1907 หลังจากที่เขาได้รับคำแนะนำจากลีออง บาคส์ท นักออกแบบฉากที่มีชื่อเสียงของคณะบัลเลต์รัสเซีย ชากาลล์ร่วมกับเคาเตสส์ ตอลสตอย และนิจินสกี้ ตั้งห้องภาพขึ้นที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก รูปเขียนรูปแรกของเขาชื่อ Death ชากาลล์ ได้รับภาพกอปปี้ ของจิตรกรฝรั่งเศสรุ่นใหม่ๆทำให้เขาเกิดความดาลใจในศิลปะแบบ คิวบิสม์ และนำมาผสมผสานกับแนวทางของเขาเอง ซึ่งโดดเด่นไม่เหมือนใคร ภาพเขียนส่วนใหญ่ของชากาลล์จะมีลักษณะเหนือจริง ฝันๆ ซึ่งมีผู้จำกัดว่าเป็นแบบ "นาอีฟ" เรื่องราวที่เขานำมาเขียนส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวของตัวเขาเอง บ้านเกิดเมืองนอนของเขา ความสุขในวัยเด็ก ความอบอุ่นและความรัก ซึ่งออกมาทาง "สุขนาฏกรรม" สีสันในภาพเขียนของเขาจะสดใส อ่อนหวาน ดูแล้วสบายใจ ซึ่งต่อมาได้ส่งอิทธิพลไปสู่จิตรกรรุ่นหลังๆอย่างมาก นอกจาก Salvador Dali แล้ว Marc Chagall จิตรกรชาวยิว-รัสเซีย ก็เป็นหนึ่งในศิลปินแนว Surrealism ที่มีชื่อเสียงไม่แพ้กัน โดยมีผลงานทั้งในรูปแบบของงานจิตรกรรม งานกระจกสี และโมเสก เขาไม่ได้สร้างสรรค์ผลงานโดยยึดติดกับลัทธิใดลัทธิหนึ่ง แต่แสดงออกมาจากความคิดฝันของเขาเอง บวกกับการใส่จิตวิญญาณของชาวยิว และสื่อความด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ ลงในภาพ

ผลการค้นหารูปภาพ

แนวคิดของศิลปะเหนือจริง เกิดจากการตั้งคำถามในการใช้ชีวิตของมนุษย์ว่าจริงๆ แล้วสิ่งที่เราเคยถูกสอนมาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรมต่างๆ นั้น มีความจำเป็นต่อชีวิตเราจริงหรือไม่ ในอดีตที่มนุษย์ยังไม่มีความเข้าใจหรือความรู้พอที่จะใช้ในการดำรงชีวิต การตั้งกฎเกณฑ์หรือข้อแม้ต่างๆ อาจจำเป็นเพื่อให้มนุษย์ใช้ชีวิตอยู่ในระเบียบของสังคม แต่เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งต่างๆ ในโลกได้รับการพิสูจน์ด้วยวิทยาศาสตร์ เรามีความเข้าใจในสิ่งที่เราเป็นมากขึ้น ทำให้เกิดการตั้งคำถามต่อความเชื่อที่เคยถูกสอนมาวัฒนธรรมที่ต่างกัน เห็นการใช้ชีวิตของคน ได้เห็นความเชื่อที่มนุษย์สร้างขึ้นและอยู่เป็นเส้นขนานกับการใช้ชีวิต ได้อ่านหนังสือในเชิงจิตวิทยาและศิลปะร่วมสมัย ทำให้คำถามต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย แนวความคิดของงานครั้งนี้คือการตั้งคำถามกับการใช้ชีวิตของมนุษย์ที่ถูกผูกมัดด้วยความเชื่อต่างๆ จนบางครั้งข้อผูกมัดเหล่านั้นกลายเป็นข้อแม้ที่ทำให้มนุษย์ไม่สามารถพัฒนาต่อได้ การตั้งคำถามเกี่ยวกับความเชื่อที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อให้การใช้ชีวิตในสมัยก่อนอยู่ในกฎระเบียบรวมถึงความกลัวที่ถูกสร้างขึ้น เมื่อเวลาผ่านไปสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเป็นนามธรรมได้ถูกพิสูจน์ด้วยความจริงของการใช้ชีวิตของคนในยุคต่อมา แล้วสิ่งเหล่านั้นยังจำเป็นกับการมีตัวตนของเราอยู่หรือไม่ ที่มา http://swu141km.swu.ac.th/index.php/ (Surrealism) http://camerartmagazine.com/index.php/photo-techniques/52-photo-techniques/138-surrealism-photography

เรียบเรียงโดย

นางสาวฐิติพร จิตรวัฒนตระกูล รหัส 521222010

นางสาวปาริชาติ วังทะพันธ์ รหัส 521222018

นางสาวสุชาดา วงค์ชาชม รหัส 521222034

นักศึกษาหลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต รุ่นที่ 2 ชั้นปีที่ 2