วันไหว้บะจ่าง 端午节

23 สิงหาคม 2560 (ผู้ดูแลระบบ) เกร็ดความรู้ภาษาจีน

เทศกาล วันไหว้ขนมจ่าง ( บะจ่าง ) หรือ เทศกาลตวนอู่เจี๋ย  หรือ เทศกาลตวงโหงว เป็นเทศกาลที่สืบทอดกันมาแต่โบราณของประเทศจีน ตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินทางจันทรคติ หรือ “โหงวเหว่ยโจ่ว” เป็นการระลึกถึงวันที่ คุกง้วน หรือ ชีหยวน หรือ จูหยวน , Qu Yuan ( 340-278 ปีก่อนคริสต์ศักราช ) กวีผู้รักชาติแห่งรัฐฉู่ ( patrotic poet ) นอกจากนี้ในประเทศจีน บริเวณแม่น้ำฉางเจียง ( แยงซีเกียง ) , ฮ่องกง, ไต้หวัน, มาเก๊า ยังมีการละเล่น แข่งเรือมังกร ( Dragon Boat Festival ) จัดอย่างยิ่งใหญ่ในวันนี้ด้วย ทางรัฐบาลจีนยังกำหนดให้วันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 นี้เป็น วันกวีจีน ( The Chinese Poet’s Day ) อีกด้วย เนื่องจากชีหยวน นับเป็นอีกผู้หนึ่งที่เป็นกวีคนสำคัญของจีน

ตามตำนานเล่าว่า ชีหยวนเป็นขุนนางที่มีความซื่อสัตย์ ยึดถือคุณธรรม กล้าพูดกล้าทำ ชอบช่วยเหลือชาวบ้าน ต่อมาถูกเหล่าขุนนางกังฉินกลั่นแกล้งจนถูกปลดตำแหน่ง และเนรเทศออกจากแคว้นฉู่ รัฐฉินจึงถือโอกาสเข้าโจมตีรัฐฉู่จนล่มสลาย ชีหยวนมีใจรักชาติแต่ไม่อาจทำสิ่งใดได้ จึงกระโดดแม่น้ำเปาะล่อกัง ( บางตำราว่าเป็นแม่น้ำแยงซีเกียง ) ตายในวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 นั้นเอง

ชาว บ้านที่รู้เรื่องการตายของชีหยวน ระลึกถึงความดีจึงได้ออกเรือเพื่อตามหาศพ ในขณะที่ค้นหาพวกเขาก็เตรียมข้าวปลาอาหารไปโปรยลงแม่น้ำด้วย นัยว่าเพื่อล่อให้สัตว์น้ำมากิน จะได้ไม่ไปกัดกินซากศพของชีหยวน หลังจากนั้นทุกปีเมื่อครบรอบวันตาย ชาวบ้านจะนำเอาอาหารไปโปรยลงแม่น้ำเปาะล่อกัง เมื่อทำมาได้สองปี ก็มีชาวบ้านผู้หนึ่งฝันเห็นชีหยวนที่มาในชุดอันสวยงาม กล่าวขอบคุณเหล่าชาวบ้านที่นำเอาอาหารไปโปรยให้เพื่อเซ่นไหว้ แต่เขาบอกว่าอาหารถูกเหล่าสัตว์น้ำกินเสียจนหมด เนื่องจากบริเวณนั้นมีสัตว์น้ำอาศัยอยู่มากมาย ชีหยวนจึงแนะนำให้นำอาหารเหล่านั้นห่อด้วยใบไผ่ หรือใบจากก่อนนำไปโยนลงน้ำ ในปีต่อมาชาวบ้านต่างก็ทำตามที่ชีหยวนแนะนำ ชีหยวนก็ได้มาเข้าฝันชาวบ้านอีกว่าได้กินมากหน่อย แต่ก็ยังคงโดนสัตว์น้ำแย่งไปกินได้ ชาวบ้านต้องการให้ชีหยวนได้กินอาหารที่พวกเขาเซ่นให้อย่างอิ่มหนำสำราญจึง ได้ถามชีหยวนว่าควรทำเช่นไรดี จึงได้คำแนะนำว่าเวลาที่จะนำอาหารไปโยนลงแม่น้ำ ให้ตกแต่งเรือเป็นรูปมังกรไป เมื่อสัตว์น้ำทั้งหลายได้เห็นก็จะนึกว่าเป็นเครื่องเซ่นของพญามังกร จะได้ไม่กล้าเข้ามากิน ประเพณีการแข่งเรือมังกร และประเพณีการไหว้ขนมจ้าง ( บ๊ะจ่าง ) จึงเกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้

เทศกาลบะจ่าง

จากตำนานเล่าขาน กลายเป็นประเพณีการไหว้โหงวเหว่ยโจ่ว ซึ่งจะมีในช่วงเดือน 5 ของจีน ตรงกับฤดูร้อน ช่วงนี้จะมีการไหว้เจ้าด้วยขนมบะจ่าง สาเหตุที่ไหว้ด้วยขนมบะจ่าง เพราะเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน อาหารมักเก็บได้ไม่นาน เน่าเสียง่าย แต่บะจ่างที่ทำจากข้าวเหนียวสามารถเก็บไว้ได้นานมากขึ้น และการไหว้ด้วยขนมบะจ่างในช่วงฤดูร้อนจะทำให้มีความเป็นอยู่ดี เมื่อไหว้เสร็จคนจีนจะเอาไปชุบน้ำตาลทรายขาว หรือน้ำตาลทรายแดงเพื่อนำมารับประทาน อันถือว่าจะทำให้เกิดสิ่งมงคลต่าง ๆ

นักวิชาการบางท่านยังมีความเห็นประการอื่นเกี่ยวกับที่มาของเทศกาลไหว้บะ จ่าง ในหนังสือรวมบทความของท่านเหวินยีตัว กล่าวว่า การที่มีการแข่งเรือ และรับประทานบะจ่างในเทศกาลไหว้บะจ่างนั้น ต่างก็มีความสัมพันธ์กับมังกร เทศกาลไหว้บะจ่างที่จริงแล้วคือเทศกาลมังกร เป็นเทศกาลพิเศษเพื่อที่จะระลึกถึงมังกร

เทศกาลบะจ่าง

ยังมีนักวิชาการบางคนเห็น ว่า เทศกาลไหว้บะจ่างนี้มีที่มาจากตำนานวันที่ไม่เป็นมงคล จากบันทึกในตำรา โบราณกล่าวว่า ชาวบ้านต่างก็มีคำกล่าวว่า ไม่ควรกล่าวถึงเดือน 5 และไม่เลี้ยงเด็กที่เกิดเดือน 5 อีกด้วย ตำนานกล่าวว่าในสมัยจั้นกว๋อ เมิ่งฉางจวิน แห่งรัฐฉีเกิดในวันที่ 5 เดือน 5 บิดาไม่ให้เลี้ยงไว้ และนำไปทิ้งเสีย เนื่องจากเหตุผลที่ว่าเขาเกิดในวันที่ไม่เป็นมงคล ในขณะที่เมิ่งฉางจวินเสียชีวิต ชวีหยวนยังคงมีชีวิตอยู่ ดังนั้นจึงได้ให้วันที่ 5 เดือน 5 เป็นวันที่ระลึกถึงสิ่งอันไม่เป็นมงคล เห็นได้ชัดว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกับชวีหยวนแม้แต่น้อย นอกจากนี้ อ้ายเฮา และชางผู่ ต่างก็เป็นหญ้าสมุนไพร การที่นำหญ้าทั้ง 2 ชนิดนี้แขวนไว้ที่ประตูเพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้าย เป็นคำกล่าวที่สมเหตุสมผลมากกว่า ความเชื่อที่ว่าเพื่อใช้เรียกวิญญาณชวีหยวนให้มาปรากฏกายมากนักแน่นอนว่า ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เมื่อกล่าวถึงเทศกาลไหว้บะจ่าง เรื่องราวที่ผู้คนจะนึกถึงเป็นสิ่งแรก ก็ยังคงเป็นเรื่องของชวีหยวนอยู่นั่นเอง

เทศกาลบะจ่าง

เทศกาล ของการไหว้บะจ่าง คนจีนจะไหว้ในตอนเช้า โดยไหว้ด้วยธูป 3 ดอก หรือ 5 ดอก การไหว้ด้วยธูป 5 ดอก เพื่อระลึกถึงครูบาอาจารย์ พ่อแม่ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จะเข้าหลัก 5 ธาตุ หรือ โหงวเฮ้ง ของจีน ประกอบด้วย ธาตุดิน ทอง น้ำ ไม้ และไฟ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวกับวิถีชีวิตโดยตรง

ขอขอบคุณ

https://scoop.mthai.com