ประวัติความเป็นมา

20 เมษายน 2567 (ผู้ดูแลระบบ) เกี่ยวกับหลักสูตร

     

การศึกษามีความสําคัญต่อการพัฒนาประเทศ ดังนั้นการจะพัฒนาคุณภาพความรู้และการศึกษาของคนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสําคัญเป็นอย่างมากอีกทั้งยังต้องอาศัยปัจจัยหลักในการทําให้คนในพื้นที่มีความรู้ความสามารถเท่าเทียมในระดับชาติและนานาชาติคือการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาให้เหมาะสมกับสมรรถภาพของคนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้รวมทั้งให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ด้วย เดิมคณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เริ่มมีการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาภาษามลายูในปีการศึกษา 2551 โดยโครงสร้างของรายวิชาจะเน้นเนื้อหาทางด้านภาษาศาสตร์ภาษามลายูและมีจุดเด่นของหลักสูตรคือการส่งเสริมให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย ประเทศมาเลเซีย และมหาวิทยาลัยมาลัง ประเทศอินโดนีเซีย สาขาวิชาภาษามลายูเป็นสาขาที่มีความสําคัญและมีผู้สนใจเป็นจํานวนมากมีหลักสูตรเปิดสอนจํานวนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับภาษามลายูคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรได้สํารวจหลักสูตรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องพบว่ามีการเปิดหลักสูตรแต่มีความแตกต่างกันเป็นจํานวนหนึ่ง เช่น ภาษามลายูมลายูศึกษา อินโดนีเซียศึกษา เป็นต้นแต่เมื่อพิจารณาโครงสร้างหลักสูตรและรายวิชาต่าง ๆ พบว่าการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับภาษามลายูจะเป็นหลักสูตรที่ถูกออกแบบให้ศึกษาทางด้านภาษา และวัฒนธรรมมลายู 

จากการเก็บข้อมูลและสรุปผลความต้องการของผู้เรียน นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษามลายูและสะท้อนให้เห็นว่าความต้องการให้มีการพัฒนาหลักสูตรให้เป็นหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษามลายูเพื่อรองรับการประกอบอาชีพของนักศึกษาทางด้านวิชาชีพครู และได้วางโครงสร้างหลักสูตรที่เน้นภาษาศาสตร์ภาษามลายูและการสอนภาษามลายูที่สอดคล้องกับมคอ.1 สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์(หลักสูตร 4 ปี) โดยในปัจจุบันนี้จากผลการลงพื้นที่ ของคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร สะท้อนให้เห็นว่าสถานศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้จํานวนมากที่มีการเรียนการสอนภาษามลายูแต่ขณะเดียวกันครูผู้สอนที่จบการศึกษาในประเทศไทยไม่มีคนที่จบการสอนภาษามลายูแม้แต่คนเดียว การเปิดสอนหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษามลายู จะเป็นการช่วยให้บัณฑิตมีกําลังใจในการเรียนรู้เรียนรู้แบบมีเป้าหมาย และเป็นที่ต้องการของสถานศึกษา 

จุดเด่นของหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษามลายูคือนักศึกษาได้มีโอกาสนําองค์ความรู้ทางด้านภาษามลายูที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะของจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปพัฒนาพื้นที่ ของตนเอง สามารถจัดการเรียนการสอนทางด้านภาษามลายูที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนในพื้นที่การสอนที่มีการผนวกในส่วนของภาษาและวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดออกไปโดยครูมลายูที่มีใจรักในภาษา และอัตลักษณ์ของตนเอง อีกทั้งบัณฑิตสามารถออกแบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการสอนภาษามลายูที่มีความสอดคล้องกับความเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ รวมทั้งหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษามลายูเป็นหลักสูตรแรกของประเทศไทย ที่มีการเปิดสอนภาษามลายูทางด้านวิชาชีพครูและสามารถสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ภาษามลายูทั้งทางด้านการสอน และภาษาศาสตร์ภาษามลายูทั้งในระดับชาติและระดับอาเซียนได้ 

รายละเอียดในเล่มหลักสูตรนี้ประกอบด้วยข้อมูล 9 หมวด คือ 1) หมวดข้อมูลทั่วไป 2) หมวดปรัชญา วัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้3) หมวโครงสร้างหลักสูตร รายวิชาและหน่วยกิต 4) หมวดการจัดกระบวนการเรียนรู้5) หมวดความพร้อมและศักยภาพในการบริหารจัดการหลักสูตร 6) หมวดคุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา 7) หมวดการประเมินผลการเรียนและเกณฑ์การสําเร็จการศึกษา 8) หมวดการประกันคุณภาพหลักสูตร และ 9) ระบบและกลไกของการพัฒนาหลักสูตรในนามคณะกรรมการผู้รับผิดชอบพัฒนาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษามลายู หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567 

คณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตร ขอขอบพระคุณผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกท่านที่ได้ให้ข้อมูลที่ สําคัญในการปรับปรุงหลักสูตร ผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการวิพากษ์หลักสูตรคณะกรรมการสภาวิชาการ คณะกรรมการกลั่นกรองหลักสูตร และคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ที่ให้ข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปรับปรุงหลักสูตรในครั้งนี้ทําให้หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษามลายูหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567 มีความถูกต้องสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น