หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ มรภ.ยะลา จัดกิจกรรมนำเสนอผลงาน “โมเดลเมืองการพัฒนาท้องถิ่นในยุค 4.0”

27 ตุลาคม 2561 (ผู้ดูแลระบบ) กิจกรรม รปศ.

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดกิจกรรมนำเสนอผลงาน “โมเดลเมืองการพัฒนาท้องถิ่นในยุค 4.0” ในรายวิชาการสัมมนาทางรัฐประศาสนศาสตร์ โดยให้นักศึกษานำเสนอโมเดลเมืองการพัฒนาท้องถิ่นในยุค 4.0

วันที่ 26 ตุลาคม 2561 ที่ ห้องประชุมเซอรา ชั้น 2 อาคารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผู้ช่วยศาสตราจารย์อับดุลรอซะ วรรณอาลี รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมการนำเสนอผลงาน “โมเดลเมืองการพัฒนาท้องถิ่นในยุค 4.0”

สำหรับ การจัดกิจกรรมการนำเสนอผลงาน “ชุดโมเดลเมืองการพัฒนาท้องถิ่นในยุค 4.0” ในปีนี้ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ได้มีอายุครบรอบ 20 ปี ที่มีการจัดการเรียนการสอน และถือเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาสัมมนาทางรัฐประศาสนศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ

        1 เพื่อเพิ่มพูนความรู้ทักษะด้านรัฐประศาสนศาสตร์กับการบูรณาการศาสตร์ต่างๆ เพื่อพัฒนาท้องถิ่น

        2 เพื่อเปิดพื้นที่และฝึกทักษะทางวิชาการสู้การปฏิบัติจริงในพื้นที่ให้สามารถเป็นนักศึกษามืออาชีพ

        3 เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้เชิงบูรณาการ ผ่านกระบวนการจัดงานสัมมนาในรายวิชาทางรัฐประศาสนศาสตร์

โดยนักศึกษาได้คัดเลือกพื้นที่ในการทำโมเดลเมืองเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นในยุค 4.0 ทั้งหมด 4 พื้นที่ ประกอบด้วย

       1 พื้นที่ตําบลปะนาเระ อําเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

       2 พื้นที่ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

       3 พื้นที่ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

       4 พื้นที่ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

       ในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ทางหลักสูตรฯ ได้รับเกียรติจากคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาและตัวแทนจากหน่วยงานภายนอก เป็นคณะกรรมการ ประกอบด้วย อาจารย์แวมามุ  แวหะมะ  อาจารย์ประจำหลักสูตรการพัฒนาชุมชน , อาจารย์ศุภรัตน์ มฤคี และอาจารย์ราศรี   สวอินทร์   อาจารย์ประจำหลักสูตรสังคมศึกษา, อาจารย์อรวรรณ   กมล   อาจารย์ประจำหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ, อาจารย์มะพาริ  กะมูนิง อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์, อาจารย์สรียา  หมัดอะด้ำ, ตัวแทนจากเทศบาลตำบลโกตาบารู และตัวแทนจากองค์การบริหารส่วนตำบลลำพะยา

       ซึ่งมีผู้เข้าร่วมรับฟังการนำเสนอผลงาน “โมเดลเมืองการพัฒนาท้องถิ่นในยุค 4.0”  ประกอบด้วย นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ ภาคปกติ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จำนวน 250 คน