ABCDEFGHIJKLMNOPQRSTUVWXYZ
1
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิตผลการดำเนินงานผู้รับผิดชอบ
2
จุดแข็งและแนวทางเสริม
3
-
4
จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง
5
1. การศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกของอาจารย์ คณะควรสร้างขวัญและกำลังใจให้กับอาจารย์ในการศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ส่งเสริม สนับสนุน กำกับ ติดตาม การดำเนินงานตามแผนพัฒนาตนเองรายบุคคลของอาจารย์อย่างต่อเนื่อง
6
2. การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ คณะควรสร้างขวัญและกำลังใจให้กับอาจารย์ในการทำผลงานทางวิชาการ ส่งเสริม สนับสนุน กำกับ ติดตาม การดำเนินงานตามแผนพัฒนาตนเองรายบุคคลของอาจารย์ เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
7
3. การส่งเสริมและสนับสนุนพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ คณะควรร่วมกับมหาวิทยาลัย ดำเนินการวางระบบการพัฒนาสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษา ให้มีจำนวนนักศึกษาที่ผ่านเกณฑ์การวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษในระบ B1 เพิ่มมากขึ้น
8
4. การเสริมสร้างนวัตกรรมที่ชุมชนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ คณะควรวางแผนการเสริมสร้างนวัตกรรมของหลักสูตรที่ชุมชนนำไปใช้ประโยชน์ และหลักฐานการใช้ประโยชน์จากชุมชน โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการพัฒนาหรือเสริมสร้างนวัตกรรมให้เพิ่มมากขึ้นและครอบคลุมนักศึกษาทุกหลักสูตร
9
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
10
จุดแข็งและแนวทางเสริม
11
-
12
จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง
13
1. คณะควรมีการกำหนดกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนบันทึกข้อตกลงและความร่วมมือทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มโอกาสในการแสดงศักยภาพตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานด้านการวิจัย สร้างสรรค์ และนวัตกรรม
14
2. คณะควรจัดทำระบบและกลไกเพื่อสนับสนุนส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้มีการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ให้หลากหลาย ทั้งในเชิงการให้เปล่าและเชิงพาณิชย์ อีกทั้งคณะควรนำงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมขับเคลื่อนไปสู่การสร้างรายได้ จัดแพ็คเกจนำเสนอผู้ประกอบการเพื่อนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดได้จริง
15
3. คณะควรสนับสนุนและส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการ งานสร้างสรรค์ ในวารสารวิชาการที่มีค่า Impact Factor สูง
16
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
17
จุดแข็งและแนวทางเสริม
18
-
19
จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง
20
1. คณะมีการกำหนดชุมชนเป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ มีโครงการและกิจกรรมที่หลากหลายในการบริการวิชาการแก่ชุมชน ทั้งนี้คณะควรวางแผนในการให้บริการพื้นที่เป้าหมายโดยเน้นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนและให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้
21
2. คณะมีชุมชนเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและส่งผลให้ชุมชนเกิดความยั่งยืนจำนวน 3 ชุมชน ทั้งนี้คณะควรนำต้นแบบชุมชนที่ได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืนไปขยายผลในพื้นที่อื่นๆ ให้ครอบคลุมสามจังหวัดชายแดนใต้
22
จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง
23
1. คณะควรมีการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ ให้มากขึ้น
24
2. คณะควรมีการวางแผนในการสำรวจทรัพยากรของพื้นที่และความต้องการของชุมชนในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายใหม่เพิ่มเติม
25
3. คณะควรร่วมสร้างนวัตกรรมที่ได้จากการบริการวิชาการ ที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน
26
องค์ประกอบที่ 4 ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
27
จุดแข็งและแนวทางเสริมในการปรับปรุง
28
1. คณะมีการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอนครบทุกหลักสูตร ทั้งนี้คณะควรส่งเสริมให้นำองค์ความรู้ที่ได้จากการบูรณาการกับการเรียนการสอนกับศิลปวัฒนธรรม ประยุกต์ให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์
29
2. คณะมีองค์ความรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมที่เกิดการงานวิจัย คณะควรนำความรู้ที่เกิดจากงานวิจัยไปสร้างผลิตภัณฑ์และถ่ายทอดองค์ความรู้ลงสู่ชุมชน
30
จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะ
31
1. คณะควรจัดการองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมที่เกิดจากงานวิจัยให้มีจำนวนองค์ความรู้เพิ่มขึ้น และควรนำความรู้ที่เกิดจากงานวิจัยไปสร้างผลิตภัณฑ์และถ่ายทอดสู่ชุมชน
32
2. คณะควรมีการแสวงหาองค์ความรู้ที่แสดงถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นอัตลักษณ์ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้
33
3. คณะควรนำองค์ความรู้ที่ได้จากการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมไปประยุกต์พัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างมูลค่าเพิ่ม
34
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
35
จุดแข็งและแนวทางเสริม
36
นักศึกษาได้รับรางวัลการประกวดผลงานสหกิจศึกษาและการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานในระดับเครือข่ายภาคใต้ตอนล่าง และสัดส่วนนักศึกษาที่ได้รับการจ้างงานต่อเนื่องหลังสำเร็จการศึกษามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้คณะควรกระตุ้นติดตามให้หลักสูตรดำเนินการให้มีแนวปฏิบัติที่ดี โดยมีการจัดการความรู้และการเทียบเคียงสมรรถนะในแต่ละหลักสูตรเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการกับทำงาน
37
จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะ
38
1. คณะควรกำกับติดตามการดำเนินงานของหลักสูตรและนำเสนอคณะกรรมการประจำคณะพิจารณาให้ข้อเสนอแนะทุกภาคเรียน เพื่อให้มีผลการดำเนินของแต่ละหลักสูตรดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
39
2. คณะควรเตรียมความพร้อมให้กับหลักสูตรในการรับการประเมินตามเกณฑ์เครือข่ายประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN-QA) ในประเด็นการปรับปรุงหลักสูตรที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ โดยมีการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ทั้งระดับหลักสูตร (PLOs) ผลลัพธ์การเรียนรู้ในแต่ละชั้นปี (YLOs) และผลลัพธ์การเรียนรู้ในระดับรายวิชา (CLOs) และกำหนดคู่เทียบในประเด็นต่างๆ รวมทั้งเตรียมข้อมูลอย่างน้อย 3 ปี ย้อนหลัง ให้ครอบคลุมผลลัพธ์ในการบริหารจัดการหลักสูตรในทุกประเด็น เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มและเทียบเคียงกับคู่เทียบ รวมถึงการค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีของหลักสูตร
40
3. คณะควรเตรียมความพร้อมในการรับการประเมินตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (ExPEx) โดยคณะต้องจัดทำรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเกณฑ์ EdPEx ซึ่งประกอบ ด้วย โครงร่างองค์กร และทำแผนพัฒนาคุณภาพ พร้อมข้อมูลพื้นฐานของคณะอย่างน้อย 3 ปีย้อนหลัง กำหนดคู่เทียบ คู่แข่ง และค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีของคณะ
41
องค์ประกอบที่ 6 อัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
42
จุดแข็งและแนวทางเสริม
43
คณะมีการขับเคลื่อนผลการดำเนินงานด้านเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้คณะควรผลักดันให้เกิดการนำไปสู่การใช้ประโยชน์และสร้างรายได้ให้กับชุมชนหรือท้องถิ่น
44
จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง
45
-
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100