หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

วิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (2103203)

วิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (2103203) เป็นรายวิชาของผู้ช่วยศาสตราจารย์มลิวรรณ รักษ์วงศ์เพื่อศึกษาแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์เมืองโบราณยะรัง : อาณาจักรลังกาสุกะ ให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 34 คน ลงพื้นที่วันที่ 5 ตุลาคม 2562 ณ จังหวัดปัตตานี

          เมืองโบราณยะรัง อายุ 1,000 ปี ที่ตั้ง หมู่ 3 ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี สภาพทางภูมิศาสตร์ เมืองโบราณยะรัง มีผังเมืองเป็นรูปวงรีขนาดใหญ่ในพื้นที่ประมาณ 9 ตารางกิโลเมตร เป็นเมืองที่มีการสร้างทับซ้อนกันถึง 3 เมือง ขยายตัวเชื่อมต่อกัน ประกอบไปด้วย -เมืองโบราณบ้านวัด มีศูนย์กลางเป็นลานจัตุรัสกลางเมือง ล้อมรอบด้วยคูน้ำและมีซากเนินดินโบราณสถานกระจายอยู่โดยรอบกว่า 25 แห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางทิศตะวันตกและทางทิศเหนือในบริเวณพื้นที่บ้านจาเละ -เมืองโบราณบ้านจาเละ มีศูนย์กลางอยู่ที่สระน้ำ โอบล้อมด้วยคูเมืองรูปสี่เหลี่ยมถัดจากกลุ่มโบราณสถานบ้านวัดขึ้นไปทางทิศเหนือประมาณ 1 กิโลเมตร -เมืองโบราณบ้านปราแว เป็นเมืองคูน้ำ คันดินขนาดเล็กที่มีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่ามีป้อมดินทั้ง 4 มุมเมือง และมีคลองส่งน้ำต่อเชื่อมกับคูเมืองโบราณบ้านจาเละสี่มุมเมืองด้านทิศเหนือทั้ง 2 ด้าน นอกจากร่องรอยของคูน้ำ คันดินคูเมืองโบราณทั้ง 3 แห่งแล้วภายในกลุ่มเมืองโบราณนี้ ยังปรากฎซากโบราณสถานเนินดินกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปไม่น้อยกว่า 30 แห่ง

แกลเลอรี่