ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ

18 เมษายน 2567 (ผู้ดูแลระบบ) เกี่ยวกับหลักสูตร

ปรัชญาของหลักสูตร

ผลิตครูภาษามลายูที่มีความรู้คู่คุณธรรม สามารถบูรณาการความรู้ในศาสตร์ภาษามลายูมีทักษะภาษาทั้ง 4 ด้าน สู่การจัดการศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจความแตกต่างของสังคมพหุวัฒนธรรม มีจิตอาสา สามารถปรับตัวให้อยู่ ร่วมกับบุคคลอื่นได้และมีพฤติกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 

พันธกิจ

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ที่มุ่งเน้นผลิต บัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ด ารงตนอย่าง มีความสุขในสังคม รวมทั้งอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาได้ก าหนดไว้อย่างชัดเจน ว่าบัณฑิตทุกคนต้อง “เก่งไอที มีจิตอาสา สู้งาน สื่อสารภาษามลายูกลางได้” ดังนั้น หลักสูตร จึงเล็งเห็นความส าคัญในการผลิต และพัฒนาทรัพยากรบุคคลในพื้นที่ ให้เป็นผู้ที่มีความรู้ และทักษะในสาขาที่ศึกษา และมีความสามารถในการพัฒนาตนเองและสังคมอย่างต่อเนื่อง 

  ความสำคัญของหลักสูตร

               

ภาษามลายูเป็นภาษาหนึ่งในกลุ่มตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ซึ่งใช้ในดินแดนประเทศมาเลเซีย บรูไน สิงคโปร์อินโดนีเซีย และบริเวณรอบ ๆ ภูมิภาคอาเซียน ในปัจจุบันมีผู้พูดภาษานี้ประมาณ300 ล้านคน (จากจํานวนประชากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ราว 650 ล้านคน) เป็นภาษาที่มีคนพูดได้มากที่สุดในอาเซียน ภาษามลายูยังเป็นภาษาทางการที่ใช้ในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์และบรูไนอีกทั้งเป็นภาษาที่ใช้อย่างแพร่หลายในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยอีกด้วย 

ปัจจุบันเป็นโลกยุคแห่งโลกาภิวัตน์เป็นยุคแห่งไร้พรมแดง หมายถึง ประเทศที่เคยขวางกั้นคนในแต่ละประเทศให้มีความสัมพันธ์กับคนจากประเทศอื่น ๆ ในขอบเขตจํากัดได้ถูกทําลายลงไปทําให้การเคลื่อนไหวของคนประเทศต่าง ๆ ที่มีภาษาและวัฒนธรรมต่างกันเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง จากกรณีการเปิดประชาคมทางเศรษฐกิจอาเซียนเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด ดังนั้นการส่งเสริมให้คนไทยรู้ภาษามลายูให้กว้างขวางยิ่งขึ้นและลึกซึ้งยิ่งขึ้นนั้น มีความจําเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะกับกลุ่มคนในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างซึ่งมีพื้นที่ติดพรมแดนกับประเทศที่ใช้ภาษามลายูดังนั้นจึงมีความจําเป็นที่ต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพประสิทธิภาพ และมีทักษะทางด้านภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะทักษะภาษามลายูเพื่อให้เยาวชนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพและมีความสมบูรณ์ครบทุกด้าน มีสามารถในการสร้างความเจริญให้แก่ชาติต่อไปได้ 

การศึกษาในระดับอุดดมศึกษาจึงมีหน้าที่สําคัญที่จะผลักดันในการศึกษาภาษามลายูโดยต้องเตรียมบุคลากรครูที่มีขีดความสามารถและทักษะภาษามลายูในระดับสูง เพื่อที่จะเป็นผู้สอนภาษามลายูให้แก่ นักเรียนหรือผู้สนใจทั่วไปให้กว้างขวางขึ้นและใช้ประโยชน์ได้จริง เป็นการเตรียมทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพเข้าสู่เวทีการแข่งขันระดับนานาชาติที่มีความเข้มข้น มีมิติที่หลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การศึกษาแห่งชาติทั้ง 6 ข้อ ที่มีนโยบายจะจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติผลิตและพัฒนากําลังคนเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งเป็นการสร้างโอกาสสร้างความเสมอภาค ความเท่าเทียมกันทางด้านการศึกษา และเป็นการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษามลายูตระหนักถึงความสําคัญดังกล่าวและมุ่งเน้นที่จะสร้างบุคลากรครูที่สามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ด้วยกระบวนการที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญและเป็นครูที่สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต โดยหวังว่าด้วยเป้าหมายและกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวทางหลักสูตรจะสามารถผลิตบัณฑิตที่มีความรอบรู้มีทักษะด้านภาษามลายูระดับสูงและมีศักยภาพในการทําวิจัยทางภาษาและสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนภาษามลายูได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถผลิตบัณฑิตที่มีบทบาทในการตอบสนองความต้องการการเรียนรู้ภาษามลายูของคนในพื้นที่ได้ การจัดการเรียนการสอนทางด้านภาษามลายูที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนในพื้นที่ การสอนที่มีการผนวกในส่วนของภาษาและวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดออกไปโดยครูมลายูที่มีใจรักในภาษาและอัตลักษณ์ของตนเอง อีกทั้งบัณฑิตสามารถออกแบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการสอนภาษามลายูที่ มีความสอดคล้องกับความเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ รวมทั้งหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษามลายูเป็นหลักสูตรแรกของประเทศไทยที่มีการเปิดสอนภาษามลายูทางด้านวิชาชีพครูและสามารถสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ภาษามลายูทั้งทางด้านการสอน และภาษาศาสตร์ภาษามลายูทั้งในระดับชาติและระดับอาเซียนได้

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

       หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษามลายู คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตครูภาษามลายูให้มีคุณสมบัติพร้อมทั้ง 4 ด้าน ดังนี้

       1. ผลิตบัณฑิตให้มีความเชี่ยวชาญทางด้านทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษามลายูตลอดจนสามารถนํามาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

        2. ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถทางด้านศาสตร์ภาษามลายูตลอดจนสามารถประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม และสามารถประกอบอาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทักษะภาษามลายูได้

        3. ผลิตบัณฑิตให้มีทักษะในการแสวงหาความรู้ในสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตตลอดจนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและเป็นผู้มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมเพื่อจัดการเรียนการสอนภาษามลายู

        4. ผลิตบัณฑิตให้มีคุณธรรม จริยธรรม ดํารงตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูมีเหตุผลมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อสังคม และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีสามารถทํางานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข