ฝ่ายวิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์ ความหมายและขั้นตอนการขอรับความคุ้มครอง
ลิขสิทธิ์: ให้ความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทาการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน
สิ่งที่คุ้มครอง ได้แก่งานสร้างสรรค์ 9 ประเภทตามที่กฎหมายกาหนด ดังนี้

1. งานวรรณกรรม ( หนังสือ จุลสาร สิ่งพิมพ์ คาปราศรัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ )

2. งานนาฎกรรม ( ท่ารา ท่าเต้น ฯลฯ )

3. งานศิลปกรรม ( จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย ศิลปประยุกต์ ฯลฯ )

4. งานดนตรีกรรม ( ทานอง ทานองและเนื้อร้อง ฯลฯ )

5. งานสิ่งบันทึกเสียง ( เทป ซีดี )

6. งานโสตทัศนวัสดุ ( วีซีดี ดีวีดี ที่มีภาพหรือมีทั้งภาพและเสียง )

7. งานภาพยนตร์

8. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ

9. งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ
คุณสมบัติของการคุมครอง คือ คุ้มครองรูปแบบการแสดงออกของความคิด ไม่จำเป็นต้องมีความใหม่ แต่ต้องเป็นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของตนเอง ไม่ลอกเรียนแบบใคร
สิทธิการคุ้มครอง

- สามารถทำซ้า ดัดแปลงได้

- เผยแพร่ต่อสาธารณชนได้

- ให้เช่าต้นฉบับหรือสาเนางานได้

- อนุญาตใช้สิทธิได้

- ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่นได้ (โอนลิขสิทธิ์)
- มีสิทธิในทางศีลธรรม
- มีสิทธิที่จะแสดงว่าเป็นผู้สร้างสรรค์

- มีสิทธิที่จะห้ามบิดเบือน ตัดทอน ดัดแปลง หรือกระทำใดๆ จนเกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของผู้สร้างสรรค์ได้


ระบบการคุ้มครอง คือ คุ้มครองโดยอัตโนมัติ หรือคุ้มครองโดยการจดแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์
อายุการคุ้มครอง ลิขสิทธิ์จะคุ้มครองตลอดอายุผู้สร้างสรรค์และอีก 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์คนสุดท้ายเสียชีวิต ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล มีอายุ 50 ปีนับตั้งแต่วันสร้างสรรค์ หรือวันโฆษณาเป็นครั้งแรก (กรณีงานศิลปประยุกต์ คุ้มครอง 25 ปี นับตั้งแต่วันสร้างสรรค์ หรือวันโฆษณาเป็นครั้งแรก)
ขอบเขตการคุ้มครอง คุ้มครองทั่วทุกประเทศที่เป็นสมาชิก อนุสัญญากรุงเบิร์น ว่าด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์

แกลเลอรี่