ฝ่ายวิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เข้าร่วมกิจกรรมเปิดเส้นทางแห่งหม่อนไหม ไม้แก่นโมเดล

วันพฤหัสบดีที่ 11 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิชาภัทรชย์ รวิชาติ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พร้อมด้วย
อาจารย์ ดร.มะพาริ กะมูนิง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ อาจารย์ ดร.ชีวลา บาดกลาง รองคณบดีฝ่ายวิชาการและพัฒนานักศึกษา และ
นางสาวศศิธร อินน้ำหอม รักษาการในตำแหน่งหัวหน้างานวิจัยและบริการวิชาการ เข้าร่วมกิจกรรมเส้นทางแห่งหม่อนไหม ไม้แก่นโมเดล
ณ ฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ บ้านไม้แก่น อ.ไม้แก่น จ.ปัตตานี โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมบัติ โยธาทิพย์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา เป็นประธานเปิดกิจกรรมเส้นทางแห่งหม่อนไหม ไม้แก่นโมเดล และได้รับเกียรติจาก พันโท สมร เอี้ยวงศ์
รองหัวหน้าคณะทำงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ คณะ ที่ 2 ดร.พัชรินทร์ โพธิ์ทอง ผู้อำนวยการศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ นราธิวาส
อาจารย์ ดร.นิรันดิ์เกียรติ ลิ่วคุณูปการ รองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผน ผู้บริหารและบุคคลากร กำนันตำบลไม้แก่นและสมาชิกกลุ่มทอผ้าบ้านไม้แก่น
เปิดเส้นทางแห่งหม่อนไหม ไม้แก่นโมเดล เส้นทางแห่งหม่อนไหม ไม้แก่นโมเดล เป็นกิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกาย จังหวัดยะลา
ปัตตานีและนราธิวาส เป็นการดำเนินงานร่วมกันแบบบูรณาการ ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา กับศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ นราธิวาส
โดยมีวัตถุประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมให้ทักษะในการบริหารจัดการแปลงหม่อน
2.เพื่อพัฒนาทักษะในการเลี้ยงไหม
3.เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่ประชาชนทั่วไป
4.เพื่อสร้างรายได้และพัฒนาความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดียิ่งขึ้น

ในการดำเนินงานกิจกรรม เส้นทางแห่งหม่อนไหม ไม้แก่นโมเดล ได้รับความอนุเคราะห์จากฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถบ้านไม้แก่น ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 ตำบลไม้แก่น อ.ไม้แก่น จ.ปัตตานี ในการสนับสนุนพื้นที่ จำนวน 5 ไร่ โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ จำนวน 7 ราย ระยะเวลาการดำเนินงานเริ่มตั้งแต่ 2565 ถึง 2567 ซึ่งการดำเนินงานเส้นทางแห่งหม่อนไหม ไม้แก่นโมเดล ประกอบด้วยกิจกรรม 1. สนับสนุนพันธุ์หม่อน จำนวน 5 ไร่ เพื่อปลูกเป็นอาหารไหม ดำเนินการโดยศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ นราธิวาส 2. สนับสนุนไข่ไหม และให้ความรู้ด้านการเลี้ยงไหม การสาวไหม การฟอกกาวและการย้อมสีเส้นไหม ดำเนินการโดยศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ นราธิวาส ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 3. การแปรรูปและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไหม ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ร่วมทั้งเยี่ยมชมกลุ่มทอผ้าบ้านไม้แก่น ซึ่งเป็นกลุ่มทอผ้าไหมและผ้าฝ้ายที่เข้าร่วมในกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563

 

แกลเลอรี่