ฝ่ายวิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

คมส.เข้าร่วมทบทวนการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการ U2T for BCG

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2565 อาจารย์ ดร.มะพาริ กะมุนิง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เข้าร่วมทบทวนการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) U2T ระยะที่ 2 ณ ห้องฉายภาพยนตร์ อาคาร 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา  

ซึ่งในวันนี้ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้นำผลิตภัณฑ์ตามแนวคิดเศรษฐกิจ BCG จาก 3 ตำบล คือ 1) ตำบลสะเตง นำชาใบหม่อน และมัลเบอร์รี่อบแห้ง 2) ตำบลท่าสาป นำปุ๋ยน้ำชีวภาพจากน้ำมะพร้าว (Bio kala) น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นจากมะพร้าวงอกมีจาวมะพร้าว (Coco Thasap) และสบู่ผงถ่านกะลามะพร้าว 3) ตำบลเบตง นำแยมส้มโชกุนเบตง ซึ่งเป็นตัวแทนตำบลในความรับผิดชอบจาก 24 ตำบล มาจัดนิทรรศการ โดยมี เจ้าหน้าที่โครงการประจำตำบลสะเตง คือ นางสาวนภัสวรรณ ลิมป์ไตรรัตน์ และ นางสาวฮัซวานี เบ็ญจวงค์ เป็นตัวแทนการนำเสนอต้นแบบ BCG ในการประชุมทบทวนการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการ U2T for BCG ครั้งนี้อีกด้วย

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกสรี ลัดเลีย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น เป็นประธานการประชุมทบทวนการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) U2T ระยะที่ 2 โดยมีคณาจารย์ และบุคลากรจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร สถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่น และน้อง ๆ U2T จำนวนทั้งสิ้น 160 คน เข้าร่วมกิจกรรม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์จริยา สุขจันทรา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า กิจกรรมในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) U2T ระยะที่ 2 การจัดนิทรรศการผลิตภัณฑ์ตามแนวคิดเศรษฐกิจ BCG การนำเสนอผลงานการพัฒนาที่เป็นแบบอย่างในการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) U2T ระยะที่ 2 การสรุปผลการดำเนินงานในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา การสร้างความรู้ ความเข้าใจในการขับเคลื่อนโครงการฯ และการให้ข้อมูลเพื่อการพิจารณาจัดอันดับผลิตภัณฑ์/บริการ (ABC) ตามกรอบการพิจารณาของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชินีเพ็ญ มะลิสุวรรณ ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการ กล่าวว่า โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) U2T ระยะที่ 2 เป็นโครงการที่ขับเคลื่อนในระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีตำบลที่รับผิดชอบ จำนวน 64 ตำบล โดยครอบคลุมพื้นที่จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส ซึ่งในการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการฯ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาเชิงประเด็น BCG เพื่อให้ข้อมูลหัวหน้าโครงการบริการวิชาการทั้ง 64 ตำบล และสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจ BCG ซึ่งประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชินีเพ็ญ มะลิสุวรรณ ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิชาวดี ตานีเห็ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จริยาภรณ์ มาสวัสดิ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ซุลฟีกอร์ มาโซ อาจารย์ ดร.เมธิยา หมวดฉิม อาจารย์ ดร.ยุทธนา กาเด็ม และอาจารย์เวคิน วุฒิวงศ์

แกลเลอรี่