หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาชุมชน
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา

ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากสถานการณ์โควิด-19 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองยะลา จังหวัดยะลา*

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม การปรับตัวกับ
การดำเนินวิถีชีวิตใหม่ตลอดจนแนวทางในการแก้ปัญหาและบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจและ
สังคมจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ของ
ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองยะลา จังหวัดยะลา จำนวน 400 ตัวอย่าง กระจายใน 40 ชุมชนของ
เทศบาล สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในภาพรวม
อยู่ในระดับปานกลาง มีการปรับตัวโดยการสวมหน้ากากอนามัย เพื่อไม่ให้รับเชื้อโควิด - 19 ล้างมือ
ด้วยสบู่ก่อนและหลังปรุงอาหาร พกแอลกอฮอล์เจลบางครั้ง และเว้นระยะ เพื่อลดระยะเวลาการอยู่
ในพื้นที่สาธารณะ โดยเห็นว่าวิธีดังกล่าวช่วยลดโอกาสการระบาดของโรคโควิด - 19 ได้ปานกลาง
และยังไม่เชื่อมั่น ในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ตามแนวทางของ
กระทรวงสาธารณสุข แนวทางในการแก้ปัญหาผลกระทบทางเศรษฐกิจ โดยการช่วยเหลือเงิน
เยียวยา การส่งเสริมสร้างอาชีพ การใช้มาตรการช่วยเหลือเกี่ยวกับค่าครองชีพ แนวทางในการ
แก้ปัญหาผลกระทบทางสังคม ทั้งแนวทางดูแลด้วยตัวประชาชนเอง ได้แก่การดูแลสุขภาพ ลดการพบปะในสถานที่สาธารณะ การปฏิบัติศาสนกิจตามมาตรการป้องกันของโรคไวรัสโคโรนา 2019
ของรัฐอย่างเคร่งครัด ทุกคนในสังคมเข้าใจซึ่งกันและกัน ส่วนแนวทางการส่งเสริมสุขภาพของ
ประชาชนโดยภาครัฐ ได้แก่ แจกหน้ากากอนามัยให้ทั่วถึง ส่งเสริมให้หันมาออกกำลังกาย การ
ประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลการปฏิบัติเพื่อดูแลตนเอง สร้างความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรค และ
ปรับปรุง การรักษาทางการแพทย์

ไฟล์แนบ

ดาวน์โหลด