twitter
facebook
youtube
SmartHuso
ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ +_+
         
 
เมนูหลัก
สารสนเทศ
หน่วยงานงานภายใน
คณะ
สาส์นส้ม
 
การประกันคุณภาพ
 
ขั้นตอนในการทำการประเมินผลภายในสถานศึกษา ในการดำเนินการประเมินผลภายในนั้นพอสรุปขั้นตอนในการทำได้ดังนี้
  • แต่งตั้งคณะทำงาน
  • ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการประเมินผลภายใน
  • ศึกษาตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ให้แตกฉาน
  • ลำดับความสำคัญของตัวบ่งชี้
  • ประเมินเบื้องต้น (หาจุดอ่อน จุดแข็งของสถานศึกษา)
  • กำหนดโครงการหรือแผนในการดำเนินงานเพื่อคุณภาพ
  • ประเมินผลภายใน
  • เปรียบเทียบผล กับการประเมินภายนอก
ภาระกิจของงานประกันคุณภาพการศึกษาจะช่วยให้การศึกษา นักเรียน นักศึกษามีคุณภาพขึ้นอย่างไร
การประกันคุณภาพการศึกษาจะช่วยเป็นหลักประกันให้ผู้เรียน และสังคมมีความมั่นใจว่าจะได้รับการบริการจากสถานศึกษาตามมาตรฐานที่กำหนด และเป็นการช่วยให้สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพที่ดีขึ้นอย่างสม่ำเสมอมั่นใจได้อย่างไรว่ามีการประเมินคุณภาพการศึกษา แล้วคุณภาพของสถานศึกษาจะดีขึ้น
การประเมินเปรียบเสมือนกระจกส่องดูสภาพของตนเอง ทำให้ทราบถึงจุดอ่อน จุดแข็ง การแก้ไขจุดอ่อน และพัฒนาจุดแข็งจะเป็นการเสริมสร้างคุณภาพให้ดีขึ้น การประเมินคุณภาพภายในจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคุณภาพ โดยมีการประเมินคุณภาพภายนอกเป็นแรงกระตุ้นให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง


ใครได้รับประโยชน์จากการประเมินคุณภาพภายนอก
ประชาชนทุกคน ตั้งแต่นักเรียนนักศึกษา ครู อาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน ตลอดจนองค์กรหน่วยงานของรัฐ และเอกชน จะได้รับผลประโยชน์จากการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ มีกระบวนการที่จะรักษาคุณภาพไว้ และปรับปรุงให้มีมาตรฐานที่ดีขึ้นตลอดเวลา ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญในการสร้าง “คน” ที่มีคุณภาพให้แก่ประเทศชาติ


การประกันคุณภาพภายในกับการประเมินคุณภาพภายนอก แตกต่างกันอย่างไร
การประกันคุณภาพภายในเป็นกระบวนการบริหารที่สถานศึกษาต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทั้งการวางแผน กำหนดเป้าหมาย และวิธีการ การลงมือทำตามแผน ประเมิน และปรับปรุงแก้ไขพัฒนาคุณภาพ และจัดทำรายการ การประเมินตนเองเป็นประจำทุกปี
ส่วนการประเมินคุณภาพภายนอกเป็นการประเมินที่มีความต่อเนื่องกับการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา เป็นการยืนยันผลการประเมินว่าการจัดการศึกษามีคุณภาพอย่างไร เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่กำหนด การประกันคุณภาพภายใน และการประเมินคุณภาพภายนอกจึงเชื่อมโยงกันด้วยมาตรฐานการศึกษาเป็นหลัก


มาตรฐานกา รศึกษาคืออะไร
มาตรฐานการศึกษาคือ ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์ และเป็นเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่งเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริม กำกับดูแล ตรวจสอบประเมินผล และประกันคุณภาพการศึกษา


ความจำเป็นของการประกันคุณภาพการศึกษา
การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐานเป็นภาระกิจที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาประเทศทั้งระยะสั้น และระยะยาว ประเทศไทยมีการได้มีการกำกับมาตรฐาน และพัฒนาคุณภาพของผลผลิตทางการศึกษามาโดยตลอด แต่การดำเนินงานยังไม่เป็นระบบครบวงจร และต่อเนื่อง ทั้งในด้านการควบคุมคุณภาพ ด้านการตรวจสอบ ประเมินคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษา จึงยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นหรือประกันได้อย่างเต็มที่แก่สาธารณชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องว่าการดำเนินภารกิจดังกล่าวให้ผลผลิตทางการศึกษาที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐาน
ปัจจุบันมีปัจจัยนอก และในประเทศหลายประการที่ทำให้การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเร่งดำเนินการ อาทิ การตื่นตัวในเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา ในประเทศต่างๆ การสื่อสารที่ไร้พรมแดน การเปิดเสรีด้านการค้า และการบริการ ความคาดหวังของสังคม สิทธิ และเสรีภาพของประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารตลอดจนข้อจำกัดในด้านงบประมาณของประเทศ ปัจจัยเหล่านี้ได้กระตุ้นให้ผู้ที่อยู่ในวงการศึกษาตระหนักถึงเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งสะท้อนออกมาในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542


การประกันคุณภาพการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
พ.ร.บ การศึกษาแห่งชาติ ปี 2542 ได้กำหนดจุดมุ่งหมาย และหลักการของการจัดการศึกษา ที่ต้องมุ่งเน้นคุณภาพ และมาตรฐาน โดยกำหนดรายละเอียดไว้ในหมวด 6 มาตรฐาน และการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย “ ระบบการประกันคุณภาพภายใน” และ “ระบบการประกันคุณภาพภายนอก”
สำหรับการประกันคุณภาพภายในนั้นหน่วยงานต้นสังกัด และสถานศึกษาจะต้องดำเนินการให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา ที่กระทำอย่างต่อเนื่องตลอดจนจัดทำรายงานเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชนเป็นประจำทุกปี เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษา เพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกโดย “สำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา” (สมส.)
การประกันคุณภาพภายนอกที่รับผิดชอบโดย สมส. นั้นกำหนดให้สถานศึกษาทุกแห่งต้องได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกอย่างน้อย 1 ครั้งในทุกระยะ 5 ปี การประเมินคุณภาพภายนอก รอบแรกสำหรับสถานศึกษาทุกแห่งจะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 6 ปี นับตั้งแต่วันที่ พ.ร.บ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีผลบังคับใช้คือ ภายในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2548


- รายงานการประเมินตนเอง (SAR 2555)
 
         
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 133 ถ.ผังเมือง3 ต.สะเตง อ.เมือง จ.ยะลา 95000 โทรศัพท์ 073-299632 โทรสาร 073-299633
        ออนไลน์ x คน